กฏมาตรฐานโลกที่บังคับใช้ในการจดโดเมนเนม
- ภายในชื่อโดเมนสามารถใช้ตัวอักษร a-z, 0-9 และ เครื่องหมาย - (hyphen) ได้
- ชื่อโดเมนจะต้องไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วย _ หรืออักขระพิเศษใดๆ
- ชื่อโดเมนจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 3 ตัวอักษร
- หลังจากการจดโดเมนแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อโดเมนได้
- หลังจากจดโดเมนถูกจดทะเบียนแล้ว ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนโดเมนเนม ท่านเจ้าของโดเมนจะไม่สามารถย้ายผู้ให้บริการได้
- โดเมนเนมที่หมดอายุแล้วจะไม่สามารถย้ายผู้ให้บริการได้
เรื่องที่ควรรู้เมื่อท่านต้องการจดทะเบียนโดเมนเนม
1. ความยาวของชื่อ โดเมน ที่เป็นตัวอักษณ a-z, 0-9, - รวมกันแล้วได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2. เมื่อท่านจะจดโดเมนเนม ท่านต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
3. ถ้าเป็น Domain ของบริษัท ให้ท่านจดโดเมนภายใต้ชื่อบริษัทเท่านั้น อย่าจดด้วยชื่อพนักงานด้าน IT ของบริษัท
4. ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ โดเมน คือ Owner Detail หรือชื่อที่อยู่ของผู้ถือครองโดเมน
5. ใช้อีเมล์หลักของท่านเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-mail
6.
Read more...
ข้อควรรู้ก่อนจะจดโดเมนเนม
- ควรคิดชื่อ โดเมนเนม ให้พร้อมก่อนการจดทะเบียนและควรคิดไว้หลายๆชื่อ
- แต่ละชื่อควรจะสามารถสื่อถึงความหมายของเว็บไซต์ได้
- ไม่ควรคิดชื่อโดเมนเนมที่คลุมเครือ เช่น 4u เพราะผู้อื่นอาจจะตีความหมายเป็นหลายอย่างได้ เช่น foryou foru 4you เป็นต้น
- โดเมนเนมที่ตั้งไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะจะทำให้ยากแก่การจดจำ
- อีเมล์ที่ใช้ในการจดทะเบียนไม่ควรใช้อีเมล์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือของระบบ เพราะอาจจะทำให้เสียโดเมนเนมได้ เมื่อผู้ให้บริการอีเมล์ปิดตัวลง
- ต้องระวังผู้ให้บริการ Hosting ที่แถมฟรีโดเมนเนม เพราะว่าบางแห่งจะใช้ชื่อเจ้าของ Hosting เป็นคนจดทะเบียน เพราะเราจะไม่มีสิทธิเข้าไปจัดการโดเมนของตัวเองได้ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาเมื่อต้องการย้ายผู้ให้บริการได้
- ควรจะจดโดเมนกับผู้ให้บริการที่ให้ชื่อเราเป็นเจ้าของโดเมน 100% เพราะเมื่อเกิดปัญหา เราเท่านั้นที่จะสามารถจัดการได้เอง
- ควรจะจดโดเมนกับผู้ให้บริการที่มีเครื่องมือจัดการโดเมนเนมให้ใช้ โดยที่เราสามารถเข้าไปจัดการแก้ไขได้ด้วยตนเอง เพราะไม่อย่างนั้น อาจจะทำการย้ายโดเมนเนมเองไม่ได้ เพราะโดนผู้ให้บริการล็อคโดเมนเอาไว้
- การตั้งรหัสผ่าน ในการใช้จดทะเบียนโดเมนเนมควรจะตั้งให้ยากแก่การคาดเดา เพราะถ้าง่ายจนเกินไปจะเสี่ยงต่อการคาดเดาได้ เพราะอาจจะโดนเข้าไปจัดการโอนย้ายไปเป็นของคนอื่นได้(โดนขโมยนั้นเอง)
- เมื่อเราแก้ไขข้อมูลของโดเมนเนมเรียบร้อยแล้ว เราควรจะตั้งสถานะโดเมนเนมให้เป็นล็อคเอาไว้ เพื่อป้องกันการขโมยโดเมน
ข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้บริการโฮสติ้ง (web hosting)
เงื่อนไขและข้อตกลงนี้ ถือว่าเป็นอันเข้าใจกันดีแล้วทั้งสองฝ่าย ซึ่งต่อไปนี้ขอแทน ห้างหุ้นส่วนจำกัด นภัทร ไอที แอนด์ เซอรืวิส ว่า "ผู้ให้บริการ" และแทนตัวท่านว่า "ผู้ใช้บริการ" โดย สมาชิก ต้องยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการต่างๆ ของ เว็บไซต์ www.napat-it.com ดังนี้
ผู้ให้บริการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ให้บริการเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสื่อลามก หรือ เนื้อหาส่อไปทางลามก เซ็กส์ ขายบริการทางเพศ รวมทั้งเว็บไซต์ที่มีลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสื่อลามกด้วย
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Hacker , Warez , Crack, เผยแพร่ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต ทอร์จัน หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ผิดกฏหมาย
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ทุกประเภท
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการ Download, ฝากไฟล์, ฝากรูปภาพ, MP3 , Software , VDO & Voice Clips , Music Online ที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฏหมายทุกประเภท ซึ่งรวมไปถึงนามสกุลไฟล์อื่นๆ ที่พยายามหลบเลี่ยงด้วยก็ตาม
ละเมิดเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา ของผู้อื่นหรือคณะบุคคลอื่นในทุกประเทศทั่วโลก
การขู่คุกคาม การโกง การแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ เผยแพร่สิ่งหยาบคาย ยาเสพติด
เว็บไซต์ที่ให้บริการ E-mail ฟรี
Read more...
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนโดเมน .co.th .ac.th .go.th .or.th .in.th
- .co.th ใช้หนังสือรับรองการ จดทะเบียน บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ สำเนาการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 20) - หรือ เอกสารถูกถือสิทธิเครื่องหมายการค้า
- .ac.th ใช้หนังสือรับรองการขอ จดทะเบียนโดเมนเนม จากผู้บริหารระดับสูงของ โรงเรียน/สถาบันการศึกษา นั้นๆ
- .go.th ใช้หนังสือรับรองการขอ จดทะเบียน โดเมนเนม จากผู้บริหารระดับสูงของ หน่วยงานราชการ นั้นๆ
- .or.th ใช้สำเนาหนังสือรับรอง/อนุญาตให้จัดตั้ง มูลนิธิ/สมาคม/ชมรม นั้นๆ
- .in.th ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบขับขี่ ของผู้ขอ จดทะเบียนโดเมน
ถ้าจดในนามนิติบุคคลให้ ใช้หนังสือรับรองการ จดทะเบียน บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ สำเนาการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.
Read more...
linux hosting เหมาะกับใคร
Linux Hosting เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้งาน Opensource รวมไปถึง PHP Html
Linux Hosting รองรับการใช้งาน Database แบบ Mysql .htaccess Mod_Rewrite
Linux Hosting รองรับ Joomla Wordpress Drupal Moodle ThaiSMF Opencart Prestashop
Linux Hosting ของเราใช้ OS CentOs พร้อมระบบจัดการ Hosting อย่าง Control Panel DirectAdmin
Linux Hosting นี้ท่านสามารถใช้ ระบบ Backup จาก Control Panel DirectAdmin ได้อีกด้วย หากท่านมีการทำ SEO ด้วย CMS แนะนำให้ใช้ Linux Hosting
คำถามที่พบบ่อย
1. การที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างครับ ?
- ค่าชื่อเว็บไซต์ (Doman name) Free 1 ปี
-ค่าพื้นที่เว็บไซต์ (Web Hosting) Free 1 ปี
- ค่าบริการในการจัดทำและออกแบบเว็บไซต์ จ่ายครั้งเดียวไม่มีการจ่่ายเป็นรายปี หรือรายเดือนอีก
2. มีขั้นตอนในการทำเว็บไซต์อย่างไรบ้าง ?
- ขั้นตอนแรก ทางเราจะขอรับข้อมูลรายละเอียดที่ต้อการ ความต้องการว่าต้องการเว็บไซต์แบบไหน ในการทำเว็บไซต์เพื่อหาค่าประมาณของค่าใช้จ่าย
-ขั้นตอนที่สอง เมื่อรับข้อมูลเสร็จแล้วทางเราจะ Design หน้าเว็บไซต์หน้าแรก 3 แบบ เพื่อให้ลูกค้าดูว่าตรงตามความต้องการหรือเปล่าและลูกค้าต้องการแบบไหนเพื่อทำหน้าต่อไปให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
- ขั้นตอนที่สาม จัดทำเว็บไซต์ และระบบที่ลูกค้าต้องการ
- ขั้นตอนที่สี่ ส่งงานตามวันเวลากำหนด
- ขั้นตอนที่ห้า อาจปรับงานอีกครั้งเพื่อความเหมาะสม
3.
Read more...
IP address ส่วนตัว ( dedicated ip ) คือ
บริการ Dedicated IP (Internet Protocol) เป็นบริการเพื่อให้บัญชีโฮสติ้งของคุณมีที่อยู่ทางอินเตอร์เน็ต (Internet address) เป็นของตัวเอง ซึ่งตามปกติการใช้งานโฮสติ้งจะมีผู้ใช้งานหลายผู้ใช้งานใช้งานอยู่ภายใต้ IP Address ของเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน ซึ่งบริการ Dedicated IP จะช่วยให้เว็บไซต์ภายใต้โฮสที่คุณใช้งานมี IP ส่วนตัว รวมถึงสามารถสมัครใช้งานบริการ SSL ได้อีกด้วย
- เข้าถึงเว็บไซต์โดยตรงผ่าน IP address
- สามารถ FTP หรือรีโมทเข้าสู่เว็บไซต์ได้กรณีที่โดเมนหมดอายุ
- เข้าถึงเว็บไซต์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- สามารถสมัครใช้งานบริการ SSL เพิ่มเติมได้
อะไรคือ Data transfer ( bandwidth )
Data Transfer หรือ Bandwidth คือปริมาณข้อมูลที่เว็บไซต์ของคุณสื่อสารกับอินเตอร์เน็ต อาทิ หากบนเว็บไซต์ชองคุณมีไฟล์ขนาด 1MB เมื่อมีผู้ใช้งานเว็บไซต์ 1,000 คนดาวน์โหลดไฟล์นี้ จะมีการใช้งาน Bandwidth 1,000MB (1GB)
โฮสคำนวณปริมาณ Data Transfer (Bandwidth) อย่างไร?
ปริมาณการใช้งาน Data Transfer หรือ Bandwidth คำนวณจากปริมาณจากใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งรวมการใช้งานผ่าน FTP และ HTTP ด้วย สำหรับการใช้งานผ่าน HTTP จะคิดรวมทั้งปริมาณการอัพโหลดและดาวน์โหลด ส่วน FTP จะคิดตามปริมาณข้อมูลที่คุณอัพโหลดไปยังเว็บไซต์ในแต่ละครั้ง
สำหรับปริมาณเหล่านี้จะคำนวณและตัดยอดการใช้งานในทุกๆเดือน ดังนั้นหากเดือนใดมีการใช้งานจนครบโควต้าที่สมัครใช้งานไว้ คุณจะไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้จนกว่าจะครบรอบการใช้งานเดือนถัดไป
ความหมายของ .com .net .org และอื่นๆ
.com commercial organization หน่วยงานธุรกิจ
.edu US Educational institutions สถาบันการศึกษาของอเมริกา
.gov US Government agencies หน่วยงานรัฐบาลของอเมริกา
.mil US Military organizations หน่วยงานทางการทหารของอเมริกา
.net Net work providers ผู้ให้บริการเครือข่ายหรืออินเตอร์เน็ต
.org Nonprofit organizations องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.aero Aviation Community members องค์กรที่เกี่ยวกับการบิน
.biz Business of all sizes ธุรกิจทุกขนาด
.coop Business cooperatives สหกรณ์
.name Individuals of families ส่วนตัวหรือครอบครัว
.info Business, organizations, or indivrduals ธุรกิจ หน่วยงาน หรือบุคคลที่นำ
.museum Accreditation museums พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง
.pro Certified professionals อาชีพที่ได้รับการรับรอง เช่น หมอ ทนาย
.co.th สำหรับการพาณิชย์ และธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศไทย
Read more...
โดเมนเนม คือ อะไร
Domain Name ( โดเมนเนม ) คือ ชื่อสำหรับเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น (www.yourdomain.com) ตัวอย่างง่าย ๆ อาจจะเปรียบเทียบโดเมนเนมของคุณเป็นบ้านเลขที่ ซึ่งมีไว้สำหรับให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ทั่วโลกรู้จักบ้านของเรา ที่ท่านสามารถจดทะเบียนกับผู้ให้บริการรับจดโดเมน ซึ่งชื่อโดเมนที่จะจด จะต้องไม่ซ้ำกับโดเมนอื่น ถึงจะมีผู้ถือครองเป็นบุคคลเดียวกันก็ตาม โดเมนใช้เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดงความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.napat-it.com และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการที่จะสร้างเว็บไซต์ให้มีชื่อเสียงบนโลก internet โดเมนเนมนั้นอาจจะมีความหมายหรือเรียกได้อีกหลายชื่อ เช่น เว็บไซต์ หรือ ยูอาร์แอล ชื่อโดเมนเนม เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อโดเมนลงไปในช่อง Address ของโปรแกรม Web browser ระบบก็จะส่งชื่อโดเมนนั้นไปยัง DNS Server (Domain Name Server) หรือเครื่อง Server ที่ให้บริการ Hosting เหมือน napat-t-it.com เพื่อแปลงชื่อโดเมนให้เป็น IP Address เช่น 203.150.225.92 แล้วส่งกลับไปยังเครื่อง client ให้สามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับทำเว็บไซต์
ลูกค้าควรจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้นให้กับทางทีมงาน เพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้า สำหรับจัดทำข้อเสนอเชิงกลยุทธสำหรับเว็บไซต์ (Website Strategy) เช่น โลโก้บริษัท รูปภาพสินค้า โบรชัวร์หรือสื่อโฆษณาอื่น ๆ ที่เคยใช้งาน เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการวิเคราะห์กลยุทธได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเลือกรูปแบบในการออกแบบจัดทำให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ลูกค้ามี สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามอีกเรื่องหนึ่งคือ การจัดเตรียมข้อมูลจริงที่จะใช้ภายในเว็บไซต์ ควรมีกำหนดที่ชัดเจนในการนำส่งยังผู้ให้บริการจัดทำ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องตลอดจนจบโครงการ บ่อยครั้งที่พบว่าลูกค้ายังคงค้างข้อมูลอยู่บางส่วนที่จะต้องรอ ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงักไป เมื่อต้องกลับมาเริ่มใหม่อาจจะทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่อง หรือคลาดเคลื่อนในแนวทางได้ ส่งผลให้งานล่าช้าออกไปไม่สามารถออนไลน์ใช้งานได้หรือไม่เป็นไปตามที่กำหนด เป็นส่วนเสียประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายข้อมูลทางด้านเทคนิคอื่น ๆ ควรจัดเตรียมตั้งแต่เริ่มงาน เช่น Domainname หรือ Hosting ในกรณีที่ทางลูกค้าดูแลเอง ควร ตรวจสอบดูว่า Domainname หรือ Hosting นั้นมี Username / Password สำหรับ Login เข้าไปจัดการแล้วหรือยังควรให้ผู้บริการเข้าไปตรวจสอบดู Feature ต่าง ๆ ของ Hosting ว่าพร้อมที่จะรองรับเว็บไซต์ที่จะจัดทำขึ้นใหม่หรือไม่ มีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ เพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจัดทำเว็บไซต์เสร็จสิ้น และไม่ต้องกลับมาเสียเวลาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในกรณีที่ Hosting ไม่สามารถรองรับเว็บไซต์ใหม่ได้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างกันขึ้นมาได้
สิ่งที่ลูกค้าควรจะเตรียมให้กับทางทีมงานคือ
- ในส่วนของ Design เรื่องของโทนสี รูปแบบการวาง Layout ข้อมูล หรือเมนูที่ต้องการให้มี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ต้องการ ( ถ้ามี ) รูปภาพของสินค้า
Read more...